การแก้ปัญหาดินด่าง ปลูกอะไรไม่ขึ้น

การแก้ปัญหาดินด่าง ปลูกอะไรไม่ขึ้น

การแก้ปัญหาดินด่าง ปลูกอะไรไม่ขึ้น ควรแก้ไขอย่างไร ใส่อะไรเข้าไปดีถึงสามารถแก้ปัญหานี้ได้ บทความนี้มีคำตอบ

ในการทำเกษตรอินทรีย์นั้น ถือว่าเป็นเรื่องยาก แต่ก็ไม่ยากเกินไปสำหรับความพยายาม มีคนบอกว่า หากต้องการแก้ปัญหาดินปลูกอะไรไม่ขึ้น โดยเฉพาะ ดินเค็ม ดินเปรี้ยว และดินด่าง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ให้ปลูกพืชที่เข้ากับดิน ดีกว่าแก้ดินให้เข้ากับพืช เพราะเป็นวิธีที่ง่ายกว่า

แต่ใช่ว่า การแก้ปัญหาเรื่องดิน จะเป็นไปไม่ได้เลย ที่เขาไม่ทำ เพราะมันต้องใช้เวลาในการจัดการ ค่อนข้างนาน ถึงนานมาก

สำหรับการแก้ดินด่าง โดยทั่วไปมีหลายวิธี และหลายระยะเวลา แต่โดยปกตินั้น ต้องดูสภาพของ ดินด่าง ว่าด่างจริงไหม เพราะถ้าด่างจริง ๆ ต้องเป็นดินที่มีค่าพีเอชมากกว่า 7.0 ขึ้นไป และดินแน่นแข็ง แต่หากน้อยไปกว่านี้ ยิ่งง่ายในการแก้ไข

ดินที่แข็งและด่างนั้น เกิดจากการสูญเสีย ธาตุไนโตรเจนในดิน ไปอย่างรวดเร็ว และเนื้อดิน มีการละลายแร่ธาตุกำมะถัน แคลเซียม แมกนีเซียม โบรอน และโมลิบดินั่ม ออกมามากเกินไป จนเป็นพิษต่อพืช ทำให้พืชไม่โต แม้จะใส่ปุ๋ยแล้วก็ตาม หากยิ่งเพิ่มปริมาณการใส่ปุ๋ยเข้าไปมากขึ้น ยิ่งทำให้ด่างมากขึ้น และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ มีแต่จะทำให้สิ้นเปลืองต้นทุน เพราะอย่างไรก็ตาม รากของพืชก็ไม่สามารถจะดูดสารอาหารได้แล้ว เพราะสภาพดิน มีความด่าง เข้มข้น

การแก้ปัญหาดินด่าง ปลูกอะไรไม่ขึ้น

การแก้ไขปัญหาดินด่าง แบบทั่วไป

มักทำโดยใช้วิธีดังนี้

  1. การใช้สารเคมี สำหรับวิธีนี้ ต้องทราบผลแน่ชัดว่า ดินมีความด่างแน่นอน และอยู่ในระดับใด และเลือกใช้สารเคมีที่มีความเป็นกรด เพื่อมาหักล้างสภาพด่างของดิน ให้ด่างน้อยลงจนถึงระดับปกติ
  2. ใช้ธรรมชาติบำบัด การจัดการด้วยวิธีธรรมชาติบำบัดนี้ เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุด และได้ผลถาวร แต่จะใช้เวลาค่อนข้างนาน

การแก้ปัญหาดินด่าง ปลูกอะไรไม่ขึ้น

แก้ดินด่างแบบธรรมชาติ ใส่อะไรดีถึงได้ผล

การแก้ดินด่างในระยะแรก ใช้สารสกัดจากธรรมชาติที่มีความเป็นกรดสูง เช่น ใช้น้ำหมักในปริมาณที่มากกว่าปกติ โดยเลือกน้ำหมักจากผลไม้ สัตว์ ผัก ที่มีค่าความเป็นกรดสูง เช่น น้ำหมักจากมะนาว สัปปะรด ส้ม หรือพืชผักที่มีรสเปรี้ยวชนิดต่าง ๆ สามารถเอาไปคลุกกับ ปุ๋ยอินทรีย์ เข้มข้น แล้วทำการราดลงบนดิน ในบริเวณที่ต้องการทุก ๆ วัน อาจใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนเป็นอย่างน้อย และหมั่นตรวจสภาพดิน ภายหลังการปรับสภาพแล้วทุกเดือน

แก้ดินด่างในระยะที่สอง หากดินยังมีความเป็นด่างอยู่ สังเกตุว่ายังแข็งอยู่ ก็เริ่มใช้วิธีการเติมสารอินทรีย์ให้เนื้อดิน เพราะสารอินทรีย์เป็นสารประกอบ ที่มีคาร์บอน ไฮโดรเจน และไนโตรเจนเป็นหลัก สารเหล่านี้มีประโยชน์ต่อจุลลินทรีย์ในดิน ที่จะใช้คาร์บอนและไนโตรเจน ไปเป็นองค์ประกอบสำหรับโครงสร้างของเซลล์ เมื่อใช้สาร 2 ตัวไป ก็จะเหลือไฮโดนเจน ที่มีปริมาณมาก พอที่จะทำให้สารอินทรีย์ในดินมีค่าเป็นกรดอ่อน ๆ

ขั้นตอนแก้ดินด่างง่าย ๆ ในระยะ 2 ก็คือ การหมักดินให้มีความเป็นกรด ด้วยสารอินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาติ ระยะนี้อาจต้องใช้เวลาในการทำ 4-6 เดือนเป็นอย่างน้อย และตรวจสภาพดินอย่างต่อเนื่อง

การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์

การแก้ปัญหาดินด่างในระยะที่สาม ระยะสุดท้าย แนะนำให้หาพืชช่วยบำรุงดิน พืชที่นิยมปลูกในสภาวะดินเป็นกรดอ่อน ๆ หรือด่างอ่อน ๆ นั้น สามารถปลูกได้ในระดับผิวดิน ได้แก่ พืชตระกุลถั่ว และผักสวนครัว ที่ระบบรากไม่ลึกมาก ส่วนปัญหาดินด่างในระดับที่ลึกลงไป อาจต้องใช้เวลามากหลายปี ด้วยการใช้พืชช่วยปรับปรุงดิน ด้วยพืชที่มีระบบรากลึก เช่น ยูคาลิปตัส กระถิน พืชตระกูลแฝก

การแก้ปัญหาดินด่างในพื้นที่ทำนา

อีกวิธีที่แนะนำกันในการแก้ปัญหาดินด่าง ในพื้นที่ทำนา ก็คือการใช้ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ใส่ลงไปในแปลงนาหรือพื้นที่ทำการเพาะปลูก มากน้อยขึ้นอยู่กับสภาวะความเป็นด่างของดิน หากดินมีความเป็นด่างมาก ก็ต้องใช้มาก ดินมีความเป็นด่างน้อยก็ใช้น้อย

ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก (Organic Matter) เหล่านี้ จะค่อย ๆ ปลดปล่อยย่อยสลายตัวเองออกมาในรูปของกรดอินทรีย์ (Organic Acid) ทำปฏิกิริยากับดินไปทีละเล็กละน้อย จนทำให้โครงสร้างดินค่อยกลับมาเป็นดินที่มีค่าเหมาะสม (พีเอช 5.8-6.3) ตามความมากน้อยและเข้มข้นของกรดอินทรีย์ หรือปริมาณปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่ได้ถูกย่อยเติมเพิ่มลงไป วิธีนี้ทำประกอบกับการไถพรวนหน้าดินด้วย

วิธีการปลูกหน่อไม้ฝรั่งสีขาว

แก้ดินด่างด้วยการปลูกพืชให้เข้ากับดิน

แนะนำว่าให้ลองปลูกพืชที่ชอบสภาพดินด่าง เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในระยะแรก ที่มีการทำเกษตรไม่ได้ หรือไม่มีทางเลือกอื่น โดยการใช้การปลูกพืชดังนี้

  • ไม้ดอก ได้แก่ แพรเซี่ยงไฮ้ คุณนายตื่นสาย เล็บมือนาง เข็ม เขียวหมื่นปี บานบุรี เฟื่องฟ้า กุหลาบ ชบา บานไม่รู้โรย
  • ผัก ได้แก่ ชะอม กระเพรา หน่อไม้ฝรั่ง ผักบุ้งจีน ผักโขม มะเขือเทศ ถั่วพุ่ม ผักกาดหัว
  • ผลไม้และไม้ยืนต้นอื่น ได้แก่ มะพร้าว ฝรั่ง ละมุด พุทรา อินทผาลัม มะม่วงหิมพานต์ มะยม สะเดา สน ยูคาลิปตัส กระถินณรงค์ ขี้เหล็ก สมอ

ที่มา : การปรับปรุงดินและการทำปุ๋ย

share on: