หน้าร้อน หน้าหนาว น้ำแล้ง ปลูกผักไม่ได้ อย่าเพิ่งตกใจ ยังมีวิธีการปลูกผักสวนครัวที่สามารถทำได้อยู่ตั้งเยอะ ไม่ต้องกลัวอดกินผัก
โดยเฉพาะหากเป็นวิธีการปลูกพืชที่ต้องการน้ำน้อย หรือพืชทนแล้ง ที่สามารถสร้างรายได้อย่างงามอยู่มากมาย หากอยากรู้มาทางนี้
จากเทคโนโลยีที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ก็ไม่อาจจะแก้ปัญหาแหล่งทำกินของเกษตรกรได้ อย่างบางพื้นที่เป็นดินเค็มก็ต้องอยู่กับสภาพแบบนั้นไป พื้นที่ไหนมีสภาพดินอุดมสมบูรณ์หน่อยก็มีผลหมากรากไม้อันหลากหลาย แต่พื้นที่จำนวนมากมายที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ก็ก่อเกิดวิกฤติในบางแห่ง ดังนั้นจึงต้องปรับตัวต่อสภาพที่เป็นอยู่ให้ได้
จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ชาวนาจึงได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการเกษตร เพื่อมาจัดการกับปัญหาพื้นที่แห้งแล้งได้ดีขึ้นด้วยการปลูกพืชที่ต้องการน้ำน้อย และมีสายพันธุ์ใหม่ๆ ของพืชที่หลากหลายทำให้การเกษตรเติบโตไปได้อย่างไม่หยุดนิ่ง
การแนะนำสายพันธุ์ใหม่ของ พืชทนแล้ง หรือพืชในกลุ่มที่มีความต้องการใช้น้ำน้อยๆ และทำให้ดีกว่าเดิมด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นเดียวกับระบบน้ำหยด สามารถปรับพื้นที่แห้งแล้งให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ได้ในระดับที่เกษตรกร อยู่รอด
สำหรับ รายชื่อ พืชที่ต้องการน้ำน้อย และสามารถเพาะปลูกในพื้นที่แห้งแล้งได้ดีไม่แพ้พื้นที่ปกติ มีดังต่อไปนี้
งาดำ พืชทนแล้ง ได้ดี เพราะจัดเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยที่สามารถทนแล้งได้ดีมาก ทั้งยังมีต้นทุนการผลิตต่ำ แต่ขายได้ราคาสูง เหมาะกับการทำการเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างยิ่ง งายัง วิตามินและแร่ธาตุสำคัญจำนวนมาก โดยเฉพาะแคลเซียมที่มีมากกว่านมวัวถึง 6 เท่า มีธาตุเหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และทองแดง และยังมากด้วยวิตามินบีชนิดต่างๆ ซึ่งดีต่อระบบประสาท ช่วยทำให้นอนหลับ ร่างกายกระฉับกระเฉง พร้อมกันนั้นยังมีสารบำรุงประสาทด้วย และวิตามินอีเป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยต้านมะเร็ง
มะละกอ ทนแล้ง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carica papyya L. ชื่อวงศ์: CARICACEAE ชื่อสามัญ: Papaya. ชื่อท้องถิ่น: มะก๊วยเต็ด ลอกอ บักหุ่ง มะละกอนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน โดยเฉพาะในดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง พื้นที่มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มะละกอจะเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตมาก ในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้
พืชตระกูลถั่ว ต้องการน้ำน้อย ถั่วทุกชนิดถือว่าเป็นพืชทนแล้งได้ดี เพราะไม่ต้องการน้ำมาก เจริญเติบโตเร็ว หลังเก็บเกี่ยวสามารถไถกลบซัง และซังนี้เองก็จะเป็นปุ๋ยชั้นดีให้กับดินต่อไป หากมีการปลูกสลับกันในระหว่างการเก็บเกี่ยวและรอการไถพรวนดินแล้ว พืชที่ปลูกหลังการไถกลบถั่วจะมีการเติบโตได้ดีมาก เรียกว่า เป็นพืชที่ใช้น้ำไม่มากแล้วยังเป็นพืชที่บำรุงดินได้ดีอีกด้วย
พืชไร่ทุกชนิด ทนแล้งได้ดี พืชที่สามารถปลูกในที่ดอนได้และอายุสั้น แน่นอนต้องเป็นพืชไร่ เพราะพืชชนิดนี้ต้องการน้ำน้อย มีอายุการปลูกและการเก็บเกี่ยวไม่นาน เมื่อให้ผลผลิตแล้วลำต้นก็จะตาย เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ทนแล้งได้ดี
ข้าวฟ่างหวาน ทนแล้ง ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกเพื่อผลิตเอทานอล ปลูกกันมากที่จีนและอินเดีย ที่ประเทศไทยเองก็มีการปลูกพันธุ์ข้าวฟ่างลูกผสมสีแดง ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกตามหลังข้าวโพดในเขตการปลูกข้าวโพดจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี และเพชรบูรณ์ ตามระบบการจำหน่ายเมล็ดพันธ์และการรับซื้อผลผลิต กลับคืน พันธุ์เฮกการีหนัก เป็นข้าวฟ่างพันธุ์แท้ต้นสูง เมล็ดสีขาว กรมวิชาการเกษตร (กรมกสิกรรม) แนะนำให้เกษตรกรปลูกตั้งแต่ปี 2506 โดยมีลักษณะเด่น คือ มีผลผลิต เมล็ดเฉลี่ยประมาณ 400-600 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดมีขนาดใหญ่และ มีความไวต่อช่วงแสง เหมาะสำหรับปลูกในปลายฤดูฝนตั้งแต่ปลายเดือน กรกฎาคมถึงต้นเดือนกันยายน
ฟักทอง ฟักเขียว แก้วมังกร ทนแล้งได้ดี พืชตระกูลนี้บางชนิดต้องการน้ำมากหน่อย แต่ก็ไม่ถึงกับต้องให้ทุกวัน การปลูกแก้วมังกรหากปลูกในที่ร่มจะไม่ได้ผลผลิต ข้อสังเกตุคือ พืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น จะมีความต้องการน้ำในปริมาณน้อยกว่าพืชชนิดอื่น
มะพร้าว มันสำปะหลัง ตะบองเพชร เป็นพืชต้องการน้ำน้อย และสามารถปลูกในที่ดินเค็มได้ดีไม่แพ้พื้นที่แห้งแล้ง เพราะเป็นพืชทนเค็มได้ดีอีกด้วย มีความอดทนสูง สามารถปลูกในดินทราย ซึ่งเป็นดินที่มีทรายปนอยู่มาก จึงทำให้มีเนื้อดินหยาบ เม็ดดินใหญ่และไม่เกาะกัน น้ำและอากาศซึมผ่านง่าย ไม่อุ้มน้ำ จึงมีการระบายน้ำและอากาศได้ดี ทำให้มีการจับยึดธาตุอาหารเพื่อบำรุงพืชได้น้อย ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับการปลูกพืชทั่วไป
สมุนไพรไทย ทนแล้ง สมุนไพรของไทยบางชนิดก็เป็นพืชที่เกิดอยู่ในแถบที่มีความแห้งแล้งได้ดี และต้องการปริมาณน้ำน้อย พืชบางชนิดต้องการความชื้นสูง เช่น กระวาน กานพลู พวกนี้ใช้น้ำมาก
พืชที่ปลูกในพื้นที่แห้งแล้ง
การปลูกพืชแต่ละอย่างควรอยู่ในแนวทาง ที่เป็นระบบ อาศัยซึ่งกันและกันตามหลักแล้วควรปลูกพืชในแบบ เกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นทฤษฎีแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตรที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย
เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร โดยการแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วนเพื่อใช้พื้นที่ทุกๆ ส่วนให้เป็นประโยชน์และพึ่งพาอาศัยกันได้อย่างเสรี ไม่ต้องจัดการดูแลมากนัก ลดปัญหาและภาระสำหรับการจัดการ อ้างอิงเกษตรทฤษฎีใหม่จาก การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามรอยพ่อหลวง
อ้างอิงข้อมูลจาก : พืชที่ต้องการน้ำน้อย พืชทนแล้ง