จุลินทรีย์ EM กับการทำเกษตรอินทรีย์

จุลินทรีย์ EM

จุลินทรีย์ EM สำหรับภาคเกษตรในยุคปัจจุบัน ได้ชื่อว่า เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก และเป็นอย่างแรกที่ต้องนึกถึง

การจะทำเกษตร โดยเฉพาะ เกษตรอินทรีย์ หากไม่พึ่งพาสารเคมี การได้จุลินทรี์ไปเพิ่มประโยชน์แก่ดินและพืช ถือเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น และสำหรับวันนี้ ทีมงานนักเขียน ก็จะมาพา ย้อนกลับไปยังสิ่งที่ ว่าด้วยเรื่องของ การใช้ประโยชน์จากชีวภาพ

จุดกำเนิดของ จุลินทรีย์ EM

จุลินทรีย์ EM ถูกค้นพบครั้งแรกโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว จังหวัดโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งท่าน ได้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัย และทดลอง ตามแนวทางของ ท่านโมกิจิ โอกาดะ ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2510-2525 และได้พบความกับจริงเกี่ยวกับ จุลินทรีย์ในธรรมชาติ

โดยสามารถแยก จุลินทรีย์ออกมา ได้เป็น 3 กลุ่ม นั่นคือ จุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศหายใน (Aerobic Microorganisms) และ จุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ (Anaerobic microorganisms) ซึ่งจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดนี้ จะสามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งสามารถควบคุม ให้มีลักษณะ ช่วยเหลือเกื้อกูล หรือขัดแย้งกันได้ และยังสามารถ แบ่งแยกจุลินทรีย์ ทั้งสองประเภทนี้ ออกมาเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

  1. จุลินทรีย์กลุ่มดี หรือกลุ่มสร้างสรรค์ มีอยู่ประมาณ 5-10%
  2. จุลินทรีย์กลุ่มก่อโรค หรือกลุ่มทำลาย มีอยู่ประมาณ 5-10%
  3. จุลินทรีย์กลุ่มเป็นกลาง ซึ่งมีมากถึง 80-90%

ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ได้คัดสรรเอาเฉพาะ จุลินทรีย์กลุ่มดี ที่มีประโยชน์ มาเลี้ยงรวมด้วยเทคนิคพิเศษ เรียกว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ นั่นจึงถือกำเนิดเป็น จุลินทรีย์ EM (Effective Microorganisms) ที่เรารู้จักกันดี

ลักษณะการทำงานของจุลินทรีย์ EM

กรณีที่มีจำนวนของจุลินทรีย์กลุ่มดี หรือจำนวนของกลุ่มสร้างสรรค์มากกว่ากลุ่มก่อโรค สภาพแวดล้อมจะอยู่ในสภาวะสร้างสรรค์ สะอาด บริสุทธิ์ สดใสและปราศจากมลพิษหรือโรคภัยทั้งปวง กลับกัน หากมีจำนวนจุลินทรีย์กลุ่มก่อโรคหรือกลุ่มทำลายมากกว่ากลุ่มสร้างสรรค์ สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปจะเกิดมลภาวะเป็นพิษ เน่าเหม็น มีโรคระบาด เป็นสภาวะที่แย่และไม่น่าอยู่

ส่วนกลุ่มเป็นกลางที่มีอยู่อย่างมากมายนั้น จะคอยช่วยสนับสนุนจุลินทรีย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนมากกว่าให้สามารถแสดงปฏิกิริยาได้มากยิ่งขึ้น เรียกว่า ใครชนะก็เข้าข้างนั้น

จุลินทรีย์ EM มีจุดประสงค์ในการใช้งานอย่างไร

ในธรรมชาตินั้นมีจุลินทรีย์มากมาย และแยกย่อยเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มดี กลุ่มเลว และกลุ่มที่เป็นกลาง ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะมี จุลินทรีย์กลุ่มที่ดี จำนวนมากกว่ากลุ่มที่ทำลาย

โดยตัวแปรสำคัญคือ จุลินทรีย์ ที่เป็นตัวกลางซึ่งสามารถพบได้ทั่วไป การใส่สาร จุลินทรีย์ EM ที่มีกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นกลุ่มดี กลุ่มสร้างสรรค์อยู่ในจำนวนมาก

ก็เพื่อไปแก้ไข เพิ่มเติมใสส่วนที่ขาด ทำให้สภาวะแวดล้อมในจุดนั้น ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ใช้ในดิน ดินก็ดีขึ้น ใช้ในน้ำ น้ำก็ดีขึ้น ฉีดพ่นในอากาศ อากาศก็สดชื่น กลิ่นก็สะอาด

การใช้จุลินทรีย์ EM ในชีวิตประจำวัน

ส่วนใหญ่ใช้ในเรื่องของการทำความสะอาด โดยคุณสมบัติเฉพาะตัวของ จุลินทรีย์ ที่สามารถย่อยสลายคราบและชีวภาพต่าง ๆ ได้นั่นเอง เช่น การใช้ล้างผัก การขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในห้องน้ำ เป็นส่วนผสมของปุ๋ยชนิดต่าง ๆ ใช้ในการไล่แมลงสัตว์กัดต่อย ฯลฯ ในด้านการเกษตร โดยเฉพาะ เกษตรอินทรีย์ และการทำเกษตรพอเพียง ใช้ EM ก็เพื่อผลผลิตที่ได้จะเป็นผลผลิตที่ ปลอดสารพิษ และทำให้ผลผลิตมีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งยังรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

อ้างอิงข้อมูล : กำเนิด จุลินทรีย์ EM

share on: