การเลือกสายพันธุ์แท้ของ บอนกระดาดด่าง ที่เป็นหนึ่งสายพันธุ์ “ด่าง” ที่คนนิยมกันมากที่สุดในตอนนี้ มาดูกันว่าควรเลือกแบบไหนที่จะได้ผลดีจริงที่สุด
สำหรับเนื้อหานี้ เกี่ยวกับการเรียนรู้ชนิดและสายพันธุ์ของบอนกระดาดด่างที่นิยมปลูกกันมากในยุคนี้ มาเริ่มกันเลย
หัวข้อสำคัญ
- ต้องการข้อมูลเรื่อง การเลือกซื้อบอนกระดาดด่างแบบละเอียด ไปที่ บอนกระดาดด่าง
- ต้องการทำให้พืชเป็นไม้ด่าง ให้ไปที่ ทำอย่างไรให้ไม้มีใบด่าง
บอนกระดาดด่าง หรือชื่อเรียกเป็นทางการว่า Alocasia macrorrhizos (L.) G.Don นั้น ในประเทศเราถือเป็นพืชสมุนไพรใช้เป็นยา บางชนิดกินได้ บางชนิดกินไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่ “กินไม่ได้” เนื่องจากเป็นพิษ เพราะลักษณะพันธุ์ แม้จะเป็นไม้ตระกูลบอน แต่จัดอยู่ในประเภท “เหรา (เห-รา)” และจัดเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงเฉลี่ยอาจถึง 2.5 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเหง้า หรือหัวที่อยู่ใต้ดิน มีลำต้นสั้น ใบเดี่ยวตั้งตรงเรียงเวียนสลับกันไป ลำต้นเป็นรูปไข่แกมหัวใจ มีความกว้างได้ตั้งแต่ 1 ซม. จนถึง 60 ซม.
ลำต้นของบอนกระดาดนั้นจะมีความยาวประมาณ 10-90 ซม. ปลายติ่งแหลม โคนเว้าลึก ขอบเป็นคลื่น แผ่นใบสีเขียวเรียบเป็นมัน มีเส้นแขนงใบข้างละ 5-7 เส้น ก้านใบใหญ่ ยาว 1.2-1.5 เมตร จะมีรอยด่างปื้นสีขาวอมเทากระจายไม่เป็นระเบียบ ทำให้เกิดลวดลายที่พริ้วสวยงาม บอนกระดาดด่างนั้น ขยายพันธุ์จากเหง้าเหมือนบอนทั่วไป
สายพันธุ์บอนกระดาดด่าง
เดิมที บอนกระดาดด่าง ก็อยู่ในสายพันธุ์บอนกระดาดทั่วไป แต่ความด่าง จะเกิดจากความผิดปกติที่ธรรมชาติรังสรรค์ อยากรู้เพิ่มเติมเรื่อง ไม้ด่างเกิดขึ้นได้อย่างไร เลื่อนดูด้านล่าง
อย่างที่รู้กันดีว่าไม้ด่างทั่วไปที่พบเจอ มาจากพันธุ์ปกติ เพียงแต่เกิดผิดปกติด้านพันธุกรรมจากธรรมชาติ ส่วนบอนกระดาดนั้น ก็มี 3 ชนิดที่พบมากและนิยมในบ้านเรา ได้แก่
- ต้นกระดาดขาว หรือกระดาดเขียว หรือกระดาดทอง (Alocasia indica Schott)
- ต้นกระดาดแดง (A. indica Schott var. metallica Schott)
- ต้นกระดาดดำ (A. macrorhiza (L.) G.Don)
จากข้อมูลของกรมป่าไม้ บอนกระดาดทั้ง 3 ชนิดใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกันคือ A. macrorhiza (L.) G.Don
ทีนี้ หากใครได้ยินหรือได้เห็นว่า บอนกระดาดนั้นมีชื่อแตกต่างกันออกไปเช่น อโลคาเซีย (Alocasia) / กระดาด / บอนกระดาด / หูช้าง (Elephant Ear / Giant Taro) ก็สรุปสั้นๆ ไว้เลยว่า เป็นพันธุ์เดียวกันแต่แตกต่างกันไปตามชนิด
บอนกระดาดด่าง จะชนิดไหนก็ขึ้นอยู่กับว่ากระดาดอะไรจะด่าง และก็ถือเป็นพันธุ์เดียวกันกับข้อมูลข้างต้น และให้สังเกตุที่ก้านใบ
การเลือกบอนกระดาดด่าง ให้ได้ต้นที่ดี
ดูก้านใบเป็นหลัก ปกติหากสายพันธุ์ที่มีราคาแพง จะด่างตั้งแต่ก้านใบ หากก้านใบด่าง รับรองได้ว่าใบต้องด่างแน่นอน 100% ฉะนั้น การเลือกดูที่ก้านใบจะเป็นตัวกำหนดที่ดีที่สุดว่าจะได้บอนกระดาดที่ด่างสวยแน่นอน ยิ่งก้านใบทุกก้านมีความด่าง ก็จะสามารถประเมินได้ว่า ใบแต่ละใบที่ออกมานั้น ด่างสวยแน่นอนทุกใบ
ส่วนสายพันธุ์และชนิดของกระดาดแบบใดที่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการเป็นหลัก
ไม้ด่างเกิดขึ้นได้อย่างไร
- การขาดแสงสว่างอย่างเพียงพอ ข้อสังเกตุไม้ด่างหลายชนิด โดยเฉพาะ กล้วย บอน หรือพันธุ์ไม้อื่นๆ จะพบเจอได้ตามป่าที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการสร้างเม็ดสีที่ไม่สม่ำเสมอของใบ
- การขาดสารอาหาร แน่นอนว่าเมื่ออยู่ในป่า มีต้นไม้ใหญ่แทรกและขึ้นปกคลุม จึงต้องแย่งกันหาอาหาร ทำให้สารอาหารไม่เพียงพอจึงเกิดความผิดปกติขึ้นที่รูปใบ เพราะสารและแร่ธาตุบางตัวมีผลต่อการสร้างเม็ดสีของใบ (ดูเพิ่มเติมเรื่อง สารอาหารที่พืชต้องการ)
- เนื้อเยื่อใบมีอากาศมาก อาการดังกล่าวส่งผลให้เมื่อแสงแดดไปตกกระทบตรงใบจะเกิดการหักเหของแสง ทำให้ใบเป็นสีต่างๆ เช่นเทาเงิน แดง หรือน้ำตาล คุณลักษณะนี้จะพบมากในป่าธรรมชาติ และอาการดังกล่าวจะเป็นถาวรไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลต่อต้นที่เกิดกับต้นแม่เดิมในลำดับต่อไปด้วย และสามารถจำแนกเป็นพันธุ์อื่นได้ เช่น พลูลงยา แนบอุรา หรือคล้าบางชนิด
- เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม เกิดจากการได้รับสารเคมีหรือสารกำมันตภาพรังสี ทำให้ต้นไม้ดังกล่าวกลายพันธุ์จากเดิม นอกจากนี้ยังใช้ในวงการตัดแต่งพันธุ์ต้นไม้เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทานหรือมีลักษณะที่เด่นกว่าพันธุ์เดิม แต่ไม่สามารถควบคุมให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ โดยต้นแม่พันธุ์นั้นจะมีความสำคัญในการควบคุมลักษระด่างได้ดีกว่าต้นพ่อพันธ์ุ
- เกิดจากโรคบางชนิด อาจเป็นอาการของโรคใบด่างในต้นไม้ หรือ Mosaic Virus ซึ่งเกิดจากไวรัสเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อและสารคลอโรฟิลล์จนส่วนต่างๆ ของต้นและใบไม่สร้างเม็ดสีธรรมชาติ
สาเหตุที่ทำให้เกิดต้นไม้ใบด่าง อ้างอิงจาก www.baanlaesuan.com/88572/plant-scoop/leaf-tree
ขอบคุณข้อมูล “บอนกระดาด” จาก https://www.kasetorganic.com/knowledge/alocasia/