หากพูดถึงการทำเกษตรที่ตรงกับข้อมูลเชิงวิชาการ อาจจำแนกได้วิธีอันหลากหลาย หนึ่งในนั้นถือเป็นวิธีต้นแบบและให้ผลประโยชน์สุงสุดแก่ครัวเรือน
และได้สร้างคุณภาพชีวิตแก่เกษตรกรให้ดีขึ้นมานักต่อนัก นั่นคือ การดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรในรูปแบบการทำเกษตรผสมผสาน ด้วยการเกษตรแนวนี้ สามารถช่วยทำให้มีการกระจายการใช้แรงงานสู้ภาคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากภาคการเกษตรไปสู่ภาคอื่นๆ ที่มักก่อให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
เมื่อไม่มีการอพยพแรงงานออกน้องท้องถิ่น ก็จะทำให้ครอบครัวได้อยู่กันพร้อมหน้า ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตและสภาพสังคมในท้องถิ่นให้ดีขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้เป็นเกษตรกร ก็ดีขึ้นตามไปด้วย ประเทศก็จะอยู่ได้เมื่อประชากรส่วนใหญ่เป็นชนชั้นเกษตรกร ชนชั้นแรงงาน เพราะจากการศึกษาผลการดำเนินงานทางด้านการทำเกษตรแบบผสมผสานนี้ โดยการสำรวจภาคครัวเรือนของเกษตรกรทั้งหมดจำนวน 35 ครัวเรือน ในพื้นที่อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด
ผลสรุปพบว่าคุณภาพชีวิตของครัวเรือน ของเกษตรกรที่ทำเกษตรในระบบเกษตรผสมผสานนี้ ดีกว่าครัวเรือนที่ไม่ได้มีการทำเกษตรแบบผสมผสาน คือมีการเจ็บป่วยรุนแรงน้อยกว่า และเสียค่ารักษาพยาบาลน้อยกว่า อีกทั้งคุณภาพชีวิตก็ดีกว่าครัวเรือนในภาคเกษตรปกติ เพราะอะไร…
ข้อดีของการทำเกษตรแบบผสมผสาน
เพราะการดำเนินการกับระบบเกษตรผสมผสานนี้ เป็นตัวชี้วัตได้ว่าจะทำให้เกษตรกรเหล่านี้ มีอาหารเพียงพอแก่การบริโภค มีงานทำ มีรายได้อย่างต่อเนื่อง และลดความเสี่ยงจากการดำเนินกิจกรรมตามกระแสสังคม ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานไปสู่ภาคอื่นๆ สามารถใช้ทรัพยากรภายในฟาร์มหรือสวนเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่ ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรม และยังสามารถรักษาสมดุลย์ของธรรมชาติไว้ได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม ระบบการทำผสมผสานนี้ จะต่างกันออกไปในแต่ละสภาพของท้องถิ่นนั้นๆ ขึ้นอยู่กับการวางแผนการจัดการที่จะให้ประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องสอดคล้องกับสภาพเงื่อนไขทางด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม ของเกษตรกรที่แตกต่างกัน ที่เห็นหลักๆ คือ
- ลดความเสี่ยงเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพลมฟ้าอากาศ ราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอนและการระบาดของศัตรูพืช
- ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรภายในฟาร์ม ได้แก่ ที่ดิน แรงงานและเงินทุน
- มีอาหารเพียงพอแก่การบริโภคภายในครัวเรือน และมีรายได้อย่างต่อเนืองตลอดปี
- การใช้แรงงานสม่ำเสมอตลอดปี จึงทำให้ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคการเกษตรไปสู่ภาคอื่นๆ
- เกษตรกรจะมีเศรษฐกิจที่พอเพียง จึงเป็นผลให้มีสภาพความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- เป็นระบบการเกษตรที่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย
สำหรับการเกษตรผสมผสานนั้น มีข้อจำกัดเพียงแค่ เกษตรกรจะต้องมีที่ดิน ทุน แรงงาน ที่เหมาะสม และต้องมีความมานะ อดทน และขยันขันแข็งรวมทั้งมีการวางแผนและการจัดการทรัพยากรภายในฟาร์มตลอดจนเทคโนโลยีในการผลิตที่เหมาะสม และสอดคล้องกับระบบการตลาดในท้องถิ่นและในระดับภูมิภาค สิ่งเหล่านี้เป็นข้อได้เปรียบในการใช้ระบบเกษตรผสมผสาน เพื่อทำการเกษตร
ทำเกษตรแบบผสมผสาน เริ่มต้นอย่างไร
ระบบเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมนี้ คือการผสมกลมกลืนและเกื้อกูลซึ่งกันและกันไปตามธรรมชาติของท้องถิ่น เช่น ในประเทศจีน มีการเลี้ยงสุกรผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์น้ำอื่นๆ ในประเทศญี่ปุ่นมีการเลี้ยงปลาในนาข้าว เลี้ยงเป็ดในนาข้าว และสำหรับในประเทศไทยเองที่เป็นกระแสก็เห็นจะเป็น การเลี้ยงกุ้งในนาข้าว การเลี้ยงปูในนาข้าว และการเลี้ยงปลาในนาข้าว ซึ่งในอดีต เราอาจไม่มีระบบการทำเกษตรแบบผสมผสานที่ชัดเจนตามหลักสากล แต่ก็รู้จักกันในชื่อ การทำไร่นาสวนผสมเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว และเนื่องจากการเกษตรผสมผสานนี้ เป็นระบบการเกษตรที่มีเป้าหมายเพื่อการยังชีพ หรือเพื่อลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์หลายอย่าง รวมอยู่ในพื้นที่เดียวกันสำหรับใช้บริโภคในครอบครัว และต้องมีการจัดการให้ทุกกิจกรรมพึ่งพาอาศัยกันได้เองแบบผสมผสานเกื้อกูลกัน เพื่อลดต้นทุนในการผลิตและใช้ประโยชน์จากทรัพยากร อย่างสูงสุด นั่นเอง
อ้างอิง เกษตรผสมผสาน / ภาพประกอบจาก internet