เทคโนโลยีตรวจสอบย้อนกลับ

เทคโนโลยีตรวจสอบย้อนกลับ

จากการจัดงบประมาณกว่า 9 ล้านบาท เพื่อทำการบุกเบิกโครงการนำร่องในเรื่องการใช้ เทคโนโลยีตรวจสอบย้อนหลังแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ตามมาตรฐาน EPCIS โดย กสท. เพื่อหวังว่าจะสามารถยกระดับสินค้าเกษตรและทำให้เป็นมาตรฐาน เพื่อให้สินค้าเกษตรและอาหารของไทยเป็นที่ยอมรับมากขึ้นนั้น

ซึ่งเทคโนโลยีนี้ กระทรวงเกษตรฯ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้เกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช. ร่วมกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เป็นผู้พัฒนาโครงการนำร่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารจากรหัสมาตรฐานสากล ด้วยมาตรฐาน EPCIS (Electronic Product Code Information Services) ที่เป็นมาตรฐานระบบการให้บริการข้อมูลเลขรหัส EPC และข้อมูลอื่นๆ ที่มีโครงสร้างและข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล และได้รับการยอมรับทั่วโลก

เทคโนโลยีตรวจสอบย้อนกลับ

การตรวจสอบย้อนกลับในอุตสาหกรรมอาหาร

ตรวจสอบย้อนกลับด้วยเทคโนโลยี RFID ในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นการตรวจสอบด้วยกระบวนการผลิตอย่าง Real Time ผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตสามารถเห็นสถานภาพของสินค้าได้ทันที โดยเฉพาะเวลามีวิกฤตการณ์การปนเปื้อนสารเคมี เชื้อโรคในอาหาร การใช้เทคโนโลยีตรวจสอบย้อนกลับนี้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยี RFID สามารถตอบสอบได้ว่า ส่วนผสมมาจากที่ใดบ้าง ผลิตวันและเวลา สินค้ามี Shelf Life เหลืออยู่เป็นระยะเวลาเท่าใด อาหารปลอดภัยต่อการบริโภคหรือไม่ โดยทุนของ RFID คิดเป็น 10-20% ของระบบทั้งหมด

เทคโนโลยีตรวจสอบย้อนกลับ

การนำ RFID ไปใช้กับสินค้าผักผลไม้โดยนำ Tag ติดไว้ที่ตระกร้า หรือฝังไว้ในตะกร้า ถ้าใช้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์จะนำไปติดไว้ในหูของสัตว์ที่จะถูกนำไปชำแหละตั้งแต่ในฟาร์ม จุดรับซื้อ รวบรวมส่งเข้าโรงงานไปยังศูนย์กระจายสินค้าจนถึงผู้บริโภค ลักษณะการใช้ถูกแบ่งเป็นกระบวนการสั้นๆ แล้วนำข้อมูลมาต่อกัน ข้อมูลที่ได้เป็น Real Time แล้วนำมาประมวลผล การจัดการการผลิต เครื่องมือที่ใช้นำมา Integrate เข้าด้วยกันจนสามารถส่งข้อมูลได้ไกลในระดับประเทศได้ จึงเป็นประโยชน์เมื่อต้องการค้าขายกับต่างประเทศ ในช่วงเวลาที่ความปลอดภัยของอาหารเป็นเรื่องที่คู่ค้าต่างชาติให้ความสำคัญ

กรณีศึกษาการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร จากการศึกษาพืชผักสดจากโครงการหลวง ใช้การติด Tag กับตะกร้าใหญ่แล้วกระจายสู่ตะกร้าเล็กเพื่อทำการตัดแต่ง แล้วนำสู่สายพานและบรรจุเป็นแพ็คย่อยซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นบาร์โค้ด ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์จึงสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่จุดผลิต ประหยัดต้นทุนค่าแรงงานที่ต้องใช้ในการจดข้อมูลสินค้าและลดความผิดพลาดที่เกิดจาก Human Error

เทคโนโลยีตรวจสอบย้อนกลับ

ไม่ว่าจะเป็นวิธีไหน แต่เทคโนโลยีตรวจสอบย้อนกลับเป็นวิธีที่ดี อาจจะเป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อพัฒนาสินค้าของเกษตรให้ดีขึ้นได้อีกด้วย เพราะหากผู้บริโภคสามารถเข้าถึงที่มาของสินค้า ก็จะทราบได้ว่า มาจากแหล่งใด เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในตัวสินค้าอีกด้วย

share on: