การปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็ม

พื้นที่ดินเค็ม หรือ saline soil ถือเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาในการทำเกษตรเป็นอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวนี้ จะมีปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในดินมากเกินความจำเป็น

จนมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิด ดินเค็มจะทำให้พืชมีสภาพขาดน้ำ และมีการสะสมไอออนที่เป็นพิษมากเกินไปทำให้เกิดการแกรน พืชไม่โตเนื่องจากสกัดน้ำเค็มได้ยากหากไม่ใช่พืชทนเค็มจริงๆ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารที่พืชจะได้รับอีกด้วย

ปัญหานี้สามารถแก้ได้ด้วย การปลูกพืชในดินเค็ม โดยเลือกลักษณะพืชที่จะปลูกให้ถูกตามสภาพดิน เนื่องจากพื้นดินส่วนใหญ่มีปริมาณเกลือในดินสูงทั้วถึงกันเป็นแนวกว้าง การแก้ปัญหาดินเค็มส่วนใหญ่หากไม่ทำอย่างต่อเนื่อง ก็จะแก้ปัญหาไม่ได้ผลเท่าที่ควร กรรมวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างกรรมวิธี การแกล้งดิน คือการขังน้ำไว้ วิธีนี้มักใช้กับพื้นที่ดินเปรี้ยว แต่กับดินเค็มใช้ไม่ได้ผล หากใช้วิธีทำให้น้ำไหลผ่านแนวดินตลอดแนวบ่อยๆ แต่หากไม่ทำอย่างต่อเนื่อง ปัญหาดินเค็มก็จะกลับมาซ้ำเติมอีก วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาดินเค็ม คือ การปลูกพืชทนเค็ม ไปเลย

สำหรับการปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็ม นั้นควรเตรียมแปลงปลูกพืชให้ถูกต้องเพื่อลดปัญหาที่จะทำให้พืชได้รับผลกระทบจากความเค็มของเกลือ ให้เหลือน้อยที่สุด โดยปกติแล้วเกษตรกรจะยกร่องในแปลงดินแล้วปลูกตรงกลางร่อง ซึ่งผิด เพราะวิธีนี้เกลือจะเคลื่อนไปสะสมในบริเวณกลางร่องพอดี เนื่องจากเป็นที่สูงและมีการระเหยน้ำสูงสุด ทำให้เมล็ดพืชได้รับผลกระทบจากความเค็มมากที่สุด แต่ในบริเวณริมร่องทั้ง 2 ข้างมีความเค็มน้อยกว่า ดังนั้น หากต้องการปลูกพืชทนเค็มหรือพืชอื่นๆ ที่มีความทนเค็มน้อย ควรจะปลูกพืชด้วยการอาศัยหลักการนี้คือ ปลูกในริมร่องทั้งสองด้าน โดยสามารถดัดแปลงรูปร่างของแปลงเป็นแบบต่างๆ โดยให้มีส่วนสูงไว้คอยดึงความชื้น เพื่อเกิดการสะสมเกลือในบริเวณนี้ แล้วจึงปลูกพืชในบริเวณที่ต่ำกว่าเล็กน้อย

ในการเลือกปลูกพืชทนเค็ม ถือเป็นวิธีที่ได้ผลและประหยัดคุ้มค่าที่สุดในการแก้ปัญหาดินเค็มนี้ โดยการคัดเลือกพืชที่เหมาะสมที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ดินเค็มในระดับความเค็มต่างกัน สำหรับระดับความเค็มไม่มากเกินไปนัก สามารถปลูกพืช เช่น ถั่วฝักยาว ผักกาด ขึ้นฉ่าย พริกไทย กะหล่ำ บวบ แตงโม กระเทียม ผักโขม มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า ชะอม พืชเหล่านี้เจริญเติบโตได้ดี

การปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็ม

รายชื่อ พืชทนเค็ม ที่มีผลผลิตดี

โดยแบ่งหมวดหมู่ออกเป็นชั้นคุณภาพของดินในลัษณะต่างๆ ซึ่งจะเริ่มจาก ดินมีอัตราความเค็มน้อย เค็มปานกลาง เค็มมาก และเค็มจัด คือ

พื้นที่ดินเค็มน้อย สามารถปลูกพืชได้ โดยเปอร์เซ็นต์ของเกลือในระดับประมาณอยู่ที่ 0.12-0.2 ซึ่งดินที่มีปริมาณเกลือในดินประมาณ 0.12-0.25 เปอร์เซ็นต์ วัดด้วยเครื่องมีอวัดความเค็มได้ 2-4 เดซิซีเมนต่อเมตร พืชที่ไม่ทนเค็มจะเริ่มแสดงอาการ เช่น การเจริญเติบโตลดลง ใบสีเข้มขึ้น ใบหนาขึ้น ปลายใบไหม้ ปลายใบม้วนงอ ผลผลิตลดลง แต่พืชทนเค็มบางชนิดสามารถเติบโตได้ตามปกติ สามารถปลูกพืชทนเค็มในพื้นที่ดินเค็มน้อยได้ดังนี้

  • กลุ่มพืชสวน ได้แก่ ถั่วฝักยาว ผักกาด ขึ้นฉ่าย พริกไทย แตงร้าน แตงไทย
  • กลุ่มพืชไร่และพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วแขก ถั่วปากอ้า งา
  • กลุ่มไม้ผลและไม้โตเร็ว ได้แก่ อาโวกาโด กล้วย ลิ้นจี่ มะนาว ส้ม มะม่วง

พื้นที่ดินเค็มปานกลาง ชั้นคุณภาพของดินที่มีเปอร์เซ็นต์ของเกลือ โดยประมาณอยู่ที่ 0.2-0.4 ซึ่งดินที่มีปริมาณเกลือในดินประมาณ 0.25-0.50 เปอร์เซ็นต์ วัดด้วยเครื่องมีอวัดความเค็มได้ 4-8 เดซิซีเมนต่อเมตร พืชสามัญธรรมดา โดยทั่วไป จะแสดงอาการบ้างเล็กน้อย เนื่องจากความเค็มในดิน ดังนั้นก่อนมีการปลูกพืชจึงต้องมีการปรับปรุงบำรุงดินเสียก่อนด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด สามารถปลูกพืชทนเค็มในระดับปานกลางได้ดังนี้

  • กลุ่มพืชสวน ได้แก่ บวบ กะหล่ำดอก พริกยักษ์ กะหล่ำปลี ถั่วลันเตา มันฝรั่ง น้ำเต้า กระเทียม หอมใหญ่ หอมแดง ข้าวโพดหวาน แตงโม ผักกาดหอม องุ่น สับปะรด ผักชี
  • กลุ่มไม้ดอก ได้แก่ เยอบีร่า
  • กลุ่มพืชไร่และพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ ข้าว ป่าน โสนพื้นเมือง ทานตะวัน ปอแก้ว ข้าวโพด หม่อน ข้าวฟ่าง หญ้าเจ้าชู้ มันสำปะหลัง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ถั่วอัญชัญ
  • กลุ่มไม้ผลและไม้โตเร็ว ได้แก่ ทับทิม ปาล์มน้ำมัน ชมพู่ มะกอก แค มะเดื่อ

พื้นที่ดินเค็มมาก ชั้นคุณภาพของดินที่มีเปอร์เซ็นต์ของเกลือ โดยประมาณอยู่ที่ 0.4-0.8 สามารถปลูกพืชทนเค็มได้ดังนี้

  • กลุ่มพืชสวน ได้แก่ ผักโขม ผักกาดหัว มะเขือเทศ ถั่วพุ่ม แคนตาลูป
  • กลุ่มไม้ดอก ได้แก่ บานบุรี บานไม่รู้โรย กุหลาบ ชบา เฟื่องฟ้า
  • กลุ่มพืชไร่และพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ ผักโขม ผักกาดหัว มะเขือเทศ ถั่วพุ่ม แคนตาลูป
  • กลุ่มไม้ผลและไม้โตเร็ว ได้แก่ กระถินณรงค์ ขี้เหล็ก ฝรั่ง ยูลาลิปตัส มะม่วงหิมพานต์ มะยม สมอ

พื้นที่ดินเค็มจัด ชั้นคุณภาพของดินที่มีเปอร์เซ็นต์ของเกลือ โดยประมาณมากกว่า 0.8 และเหมาะกับพืชชอบเกลือเท่านั้นที่เจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ ดินเค็มจัดคือดินที่มีปริมาณเกลือในดิน ประมาณ 0.5-1.0 เปอร์เซ็นต์ วัดด้วยเครื่องมือ วัดความเค็มได้ 8-16 เดซิซีเมนต่อเมตร มีพืชบางชนิดเท่านั้นทีสามารถเจริญเติบโต และให้ผลผลิตได้ สามารถปลูกพืชทนเค็มสำหรับพื้นที่นี้ได้ดังนี้

  • กลุ่มพืชสวน ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า กระเพรา ผักบุ้งจีน ชะอม
  • กลุ่มไม้ดอก ได้แก่ คุณนายตื่นสาย เข็ม เขียวหมื่นปี แพรเซี่ยงไฮ้ เล็บมือนาง
  • กลุ่มพืชไร่และพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ ฝ้าย หญ้าแพรก หญ้าไฮบริเนเบียร์ หญ้าชันอากาศ หญ้าแห้วหมู ป่านศรนารายณ์ หญ้าดิ๊กซี่ หญ้าคัลลา
  • กลุ่มไม้ผลและไม้โตเร็ว ได้แก่ ละมุด พุทรา มะขาม มะพร้าว อินทผลัม สน สะเดา มะเขือเทศ

การปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็ม

อัตราการทนเค็มของพืช นั้น ขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์พืช วิธีการดูแลรักษามีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชมาก เนื่องจากดิน น้ำ และปัจจัยสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลร่วมกันต่อการทนเค็มของพืช พืชที่อยู่ในสภาพแวดล้อมในที่อากาศเย็นและชุ่มชื้นจะทนเค็มได้มากขึ้นกว่าสภาพอากาศร้อนและแห้ง ผลผลิตของพืชหลายชนิดลดลงมากขึ้นเมื่อความชื้นในอากาศลดลง

การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม ทำให้ผลผลิตพืชในพื้นที่ดินเค็มเพิ่มขึ้น โครงสร้างดินเลวหรือมีชั้นดินดาน เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของรากพืช การเคลื่อนย้ายของน้ำ และธาตุอาหารในดิน ดังนั้นการปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพของดินหรือการไถพวนลึกทำลายชั้นดินดาน จะช่วยลดช้อจำกัดทางกายภาพทำให้รากพืชสามารถชอนใขได้ดีขึ้น

ข้อควรระวังในการให้น้ำแก่พืชในพื้นที่ดินเค็ม คือ หากปริมาณน้ำในดินลดลงทำให้ความเข้มข้นของเกลือมากขึ้น การให้น้ำในปริมาณมากเกินไปทำให้การถ่ายเทอากาศในดินทำได้ไม่ดี โดยเฉพาะในดินเหนียวจะทำให้ระบายน้ำได้ยาก และการให้น้ำแบบสปริงเกอร์จะทำให้เกิดความเสียหายได้ ถ้ามีน้ำเค็มค้างอยู่บนใบพืช

ขอบคุณข้อมูลการทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มเติมจาก การปลูกพืชทนเค็ม

share on: