แนะนำเทคนิคการปลูกผักไร้ดิน

การปลูกผักไร้ดิน Hydroponics

ผักไร้ดิน หรือ hydroponics เกิดขึ้นมานาน ยิ่งปัจจุบันกระแสสุขภาพกำลังฮิต จึงมีผู้ประกอบการหลายรายให้บริการและแนะนำในการปลูกผักไร้ดินขึ้น

เมื่อก่อนอาจทำได้ยากเพราะงบประมาณแพง ทั้งปุ๋ยน้ำ ทั้งอุปกรณ์อื่นๆ แต่ปัจจุบันนี้ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีราคาถูกลงอย่างมาก จากกระแสคนรักสุขภาพ ที่เลือกหาผักปลอดสารพิษ ผักกางมุ้ง ผักไฮโดรโปนิกส์ จึงเป็นทางเลือกแรกของผู้บริโภคเหล่านี้ และการปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน ยังจะเป็นหนึ่งในโครงการอาหารกลางในหลายๆ หน่วยงานอีกด้วย

ปลูกผักไร้ดิน Hydroponics ก็คือการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน นั่นเอง แต่พืชจะได้รับสารอาหารครบถ้วนผ่านทางปุ๋ยในรูปแบบของน้ำ แทนดิน โดยหลักการแล้ว มี 2 แบบ คือ

  • การปลูกในน้ำ ซึ่งบริเวณรอบๆ รากของพืชเป็นของเหลว รากจะแตกออกมาที่ของเหลวนั่นเอง
  • การปลูกในวัสดุแข็ง เช่น แกลบ ทราย ขุยมะพร้าว หินภูเขาไฟ ซึ่งเป็นวัสดุปลูกที่ไม่ได้ให้ธาตุอาหารกับพืชแต่อย่างใด ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นวัสดุที่ช่วยค้ำและพยุงราก

พืชที่นิยมปลูกแบบนี้ กว่า 90 % เป็นประเภท พืช ผัก ที่ใช้รับประทานในชีวิตประจำวันที่เรารู้จักกันดี เช่น ผักสลัด ผักจำพวกกินใบสายพันธุ์จากต่างประเทศ ซึ่งในอดีตต้องนำเข้ามา แต่ปัจจุบันสามารถผลิตได้เอง นอกจากนี้ยังเป็น พืช ผัก ประเภทกลุ่มผักตะวันออก เช่น คะน้า กว้างตุ้ง คะน้าฮ่องกง ผักกาดขาว

ซึ่งหากการปลูกผักในแบบปกติ ในสภาพแวดล้อมปกติจะต้องใช้สารเคมีจำนวนมาก มีสารพิษตกค้าง ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่หากเป็นการปลูกผักไร้ดินแบบนี้ จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้

การปลูกผักไร้ดิน Hydroponics

การปลูกผักไร้ดินแบบง่าย ด้วยการเตรียมพื้นที่และวัสดุอุปกรณ์ดังนี้

  • พื้นที่ ขนาด ขั้นต่ำ 1 .5 เมตร x 1.5 เมตร (ขนาดเล็กสุด)
  • พื้นที่มีแสงแดด อย่าให้แดดจัดมาก ถ้ามีแดดจัดมากให้คลุมใยกรองแสง
  • มีน้ำสะอาด ใช้น้ำประปาได้ยิ่งดี เพราะจะคุมคุณภาพน้ำได้ง่าย
  • ชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) ขนาด 2 เมตร

การปลูกพืชไร้ดินนั้น มีปัจจัยหลักที่สำคัญซึ่งทำให้พืชเจริญเติบโต คือ ธาตุอาหารที่เป็นวัตถุดิบหลักในการให้ต้นพืชเจริญเติบโตในกระบวนการสร้างสารอาหาร โดยกระบวนการสังเคราะห์แสง วัตถุดิบที่ใช้ คือ คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ เมื่อพืชได้รับแสงบนคลอโรฟีลล์ได้สารคาร์โบไฮเดรตและออกซิเจน

ส่วนของคลอโรฟีลล์ในพืชมีธาตุอื่นๆ เป็นองค์ประกอบ เช่น ธาตุไนโตรเจนและแมกนีเซียม ซึ่งเราสามารถจำแนกธาตุอาหารตามปริมาณความต้องการของต้นพืชในปริมาณที่ต่างกัน ในการใช้ของพืชหากให้ไม่เหมาะสมกันก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตไม่เป็นปกติ

การปลูกผักไร้ดิน Hydroponics

วิธีการปลูกผักไร้ดิน สามารถทำได้ 2 แบบที่เห็นผลชัดเจน คือ

  • ใช้ระบบปั๊มอากาศให้รากพืช วิธีการนี้สะดวกง่ายและไม่ต้องห่วงว่าระบบรากพืชจะขาดออกซิเจน เพราะถ้าระบบรากพืชขาดออกซิเจนจะเกิดอาการเหลืองที่ใบและผลร่วง พืชจะได้รับความเสียหาย พืชผักที่เหมาะสมปลูกในระบบแบบนี้ ได้แก่ มะเขือเทศ แตง ผักกินใบ ทุกชนิด ฯลฯ
  • ไม่ใช้ระบบปั๊มอากาศ แต่ผู้ปลูกต้องมีทักษะในการปลูก ควรปรับลดระดับสารละลายธาตุอาหารที่ใช้เลี้ยงระบบรากพืช เมื่อพืชผักโตขึ้นต้องปรับลดระดับของสารละลายให้เกิดสภาพระบบรากพืชไม่จมแช่ อยู่ในสารละลายทั้งหมด มีบางส่วนของช่วงระหว่างโคนลำต้นของพืชกับระบบรากมีช่องว่างสัมผัสอากาศได้ บ้าง พืชผักที่ปลูกได้ผลในระบบนี้ในประเทศไทย เช่น คึ่นฉ่าย ผักบุ้งจีน ฯลฯ

การปลูกผักไร้ดิน Hydroponics

ข้อจำกัดในการปลูกผักไร้ดิน สารละลายธาตุอาหารเป็นเคมีธาตุที่พืชใช้เป็นประโยชน์โดยขบวนการอิออน ก่อนดูดซึมหรือออสโมซีสเข้าทางรากดูดลำเลียงส่งผ่านท่อโพเอมไซเอม สู่กระบวนการสังเคราะห์แสงที่ใบให้กลายเป็นแป้ง เซลลูโลส กลูโคส วิตามินเกลือแร่ต่างๆ ตามความสามารถเฉพาะของพืชแต่ละชนิด

การนำมารับประทานควรแช่น้ำหรือทิ้งไว้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง สำหรับพืชผักที่รับประทาน ลำต้นหรือใบ เพื่อให้ธาตุอาหารที่ยังไม่ได้สังเคราะห์แสงยังตกค้างอยู่ในท่ออาหาร ท่อน้ำได้เข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์ ก็จะช่วยให้สารตกค้างซึ่งมีเพียงเล็กน้อยให้หมดไป หรืออีกวิธีหนึ่ง คือ ผักแปลงใดจะใช้รับประทานก็งดใช้ธาตุอาหาร 1 วัน ให้แต่น้ำอย่างเดียวจะช่วยให้ผักนิ่ม กรอบ อร่อย น่ารับประทานและเชื่อมั่นว่าไม่มีธาตุอาหารตกค้างอย่างแน่นอน

การปลูกผักไร้ดิน Hydroponics

อย่างไรก็ตามธาตุอาหารที่เลือกผสมให้พืชเป็นธาตุที่พืชต้องการและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค เพราะขบวนการดูดซึมของพืชเป็นขบวนการอิออน ถ้าเปรียบเทียบกับพืชปลูกดินแล้ว ในดินเสียอีกที่มีธาตุอาหารหรือวัตถุเคมีหลายอย่างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเราเลือกออกไม่ได้ โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีบางชนิดบางยี่ห้อ ที่มีไนเตรตหรือขบวนการที่ก่อให้เกิดสารประกอบไนเตรตสูง

ดังนั้น พืชไร้ดินจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาและพัฒนาต่อไปกับการทำเกษตรอินทรีย์อย่างยิ่ง

ที่มา Hydroponics

share on: