การทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง

การทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง

ปัจจุบันกระแสการทำเกษตรอินทรีย์เริ่มส่งผลมากขึ้นกับบรรดาเกษตรกรไทยทั่วไป

เพราะหากไม่มีการพัฒนาและตามทันความต้องการ ก็ย่อมจะอยู่กันไม่ได้ ทางรอดเดียวของเกษตรกรคือ ต้องทำเกษตรให้ได้คุณภาพตามที่ตลาดต้องการ ถึงจะอยู่รอดได้ แต่ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช บางครั้งก็ยากที่จะจัดการ

น้ำหมักชีวภาพ ถือเป็นส่วนสำคัญในการยับยั้งโรคและแมลงศัตรูพืชอย่างได้ผล จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร ของกรมวิชาการเกษตร โดยใช้น้ำหมักชีวภาพมากถึง 115 ชนิด เพื่อยับยั้งการพัฒนาและการเจริญเติบโตของเชื้อรา Phytophthora palmivora ซึ่งเป็นสาเหตุของโรครากเน่า โคนเน่าของทุเรียน ลองกอง ส้ม ลำไย มะละกอ และโรคใบร่วงของยางพารา รวมทั้งป้องกันแมลงศัตรูพืชบางชนิดอย่างได้ผล

การทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง

เมื่อมันได้ผล ก็มีขาย มีจำหน่าย แต่อาจสู้ราคาไม่ไหวและไม่มีปัจจัยอื่น จึงต้องมีการทำน้ำหมักชีวภาพใช้เองเพื่อประหยัดงบประมาณ และขั้นตอนก็ไม่ได้ยุ่งยากวุ่นวายมากนัก โดย น้ำหมักยับยั้งเชื้อรา Phytophthora palmivora มีส่วนประกอบดังนี้

การทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง

  1. น้ำหมักที่ได้จาก กล้วยน้ำหว้าสุก และกากน้ำตาล อัตราส่วน 3 :1 ใช้น้ำหมัก 600 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
  2. น้ำหมักที่ได้จากการหมัก ข่าแก่ + ตะไคร้หอม + สะเดา + ใบยูคาลิบตัสแก่ + ใบและผลมะกรูด + เปลือกสับปะรด +ผล มะเฟือง + ผลลูกยอแก่ โดยผสมวัสดุที่กล่าวข้างต้น 3 ส่วนกับกากน้ำตาล 1 ส่วน เวลาหมัก เมื่อใช้น้ำหมักดังกล่าว 300 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
  3. น้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการหมัก ผักบุ้ง + หญ้าข้าวนก โดยผสมผักบุ้งกับหญ้าข้าวนก 3 ส่วน หมักกับกากน้ำตาล 1 ส่วน เมื่อใช้น้ำหมักดังกล่าว 2000 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร

การทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง

ส่วนน้ำหมักยับยั้งเชื้อรา ในกลุ่ม Collectotrichum gloeosporioides ซึ่งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Collectotrichum gloeosporioides นี้เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส (โรคกุ้งแห้ง) ของพริก ไม้ผล มะม่วง ทุเรียน ฝรั่ง มะละกอ หอมหัวใหญ่ กล้วยไม้ ผัก ไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด พบว่าน้ำหมักชีวภาพที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุของโรคนี้ได้ 100% คือ

  1. ถั่วแขก 3 ส่วน หมักกับการน้ำตาล 1 ส่วน โดยใช้น้ำหมักที่ได้ 300 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
  2. กล้วยน้ำหว้าสุก 3 ส่วนหมักกับกากน้ำตาล 1 ส่วน โดยใช้น้ำหมักที่ได้ 600 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
  3. ลูกตาเสือ 3 กก + หางไหล 5 กก + หนอนตายอยาก 5 กก + กากน้ำตาล 1.5 กก โดยใช้น้ำหมักที่ได้ 30 ซีซีผสมกับน้ำ 20 ลิตร
  4. ข่าแก่ + ตะไคร้หอม + สะเดา + ใบยูคาลิบตัสแก่ + ใบและผลมะกรูด + เปลือกสับปะรด + ผลมะเฟือง + ผลลูกยอแก่ รวมๆ กัน 3 ส่วน หมักกับกากน้ำตาล 1 ส่วน โดยใช้น้ำหมักที่ได้ 200 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
  5. ผักบุ้งและหญ้าข้าวนก 3 ส่วนหมักกับ กากน้ำตาล 1 ส่วน โดยใช้น้ำหมักที่ได้ 2000 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
  6. ตะไครัหอม + หัวข่า + สาบเสือ รวมๆ กัน 3 ส่วน หมักกับกากน้ำตาล 1 ส่วน โดยใช้น้ำหมักที่ได้ 100 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร

การทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง

สำหรับสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพใช้เองนี้ เริ่มแรกอยู่แค่การทดลอง แต่สามารถใช้แทนสารเคมีอย่างได้ผล ซึ่งเป็นทางเลือกของเกษตรกรผู้ทำเกษตรอินทรีย์อีกทางหนึ่ง โดยเกษตรกรสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ อย่างไรก็ตามท่านที่สนใจจะลองนำไปใช้ก็จะได้มีแนวทางที่ค่อนข้างชัดเจน กับสูตรน้ำหมักชีวภาพนี้กันง่ายๆ

เพิ่มเติมข้อมูลน้ำหมัก ที่ การทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง เพื่อบำรุงดินแบบง่ายๆ

share on: