แนะนำพันธุ์ปลาน้ำจืด

การทำประมงน้ำจืด ปัญหา และทางแก้ไข

น้องๆ กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาเทคโนโลยีการประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีการศึกษา 2553

ได้จัดทำสื่อมานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการทำประมงน้ำจืด โดยการนำเสนอคลิป VDO แนะนำพันธุ์ปลาน้ำจืด ที่สำคัญในการทำประมงน้ำจืดในประเทศไทย

ในคลิป VDO นี้ ถ่ายทำกันที่ สถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดภาคอีสาน ซึ่งจะเป็นการแนะนำสายพันธุ์ปลาน้ำจืดที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยเรา และนิยมเลี้ยงกันในหมู่กลุ่มประมงน้ำจืดทั่วไป ลองดูนะครับ ซึ่งน่าจะเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นการทำเกษตรอินทรีย์ในเรื่องการทำประมงน้ำจืดไม่น้อย

โดยสื่อนี้น้องๆ ออกไปถ่ายทำเรื่องราวเกี่ยวกับชนิดของปลาน้ำจืดรวมไปถึงนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดสกลนครด้วย โดยเนื้อหาในวีดีโอมีประเด็นอยู่ประมาณ 5 ข้อดังนี้

  • การนำเสนอชีววิทยาของปลาน้ำจืดแต่ละชนิดที่กำลังลดจำนวนลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ความเป็นมาของปลา ลักษณะรูปร่าง อุปนิสัย อาหารและการกินอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัย การสืบพันธุ์
  • การศึกษาปัญหาที่เกิดจากความเสื่อมโทรมของทรัพยาการประมง เช่น ปลาต่างๆ ที่ลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อชาวบ้านต่อไป
  • นำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาที่เป็นประโยชน์และสามารถให้ชาวบ้านนำไปใช้ได้ โดยไม่มีผลกระทบต่อธรรมชาติและมนุษย์ รวมไปถึงการนำวัสดุที่หาได้ตามท้องถิ่นมาใช้ และมีงบประมาณน้อยที่สุด
  • ปลูกฝังจิตสำนึกของชาวบ้านให้ช่วยกันรักษาและหวงแหนแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตตลอดไป
  • เป็นการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวเชิงความรู้ในท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักต่อไป

ในคลิปนี้ เป็นการแนะนำข้อมูลของปลาหลากหลายชนิด ที่จำเป็นต่อการทำประมงน้ำจืดในประเทศไทย

จุดประสงค์หลักของสื่อนี้ แนะนำพันธุ์ปลาน้ำจืด คือ

“สมาชิกในกลุ่มทุกคนมีความเห็นตรงกันว่า วีดีโอนี้มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไป และอยากนำเสนอสถานที่ที่มีอยู่ในจังหวัดสกลนคร รวมไปถึงการแนะนำตนเองในฐานะที่เป็นนักศึกษา สาขาเทคโนโลยีการประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถึงแม้ว่าสาขาของพวกเราจะเป็นสาขาเล็กๆ แต่พวกเราก็ภูมิใจที่ได้นำความรู้ที่ได้ศึกษามา มาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ ได้ พวกเราจึงอยากแชร์วีดีโอนี้ผ่านสื่อออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ เพราะปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์สามารถเข้าถึงผู้คนทุกระดับ โดยมีการใช้กันอย่างแพร่หลายและรวดเร็ว สุดท้ายนี้พวกเราหวังว่าวีดีโอนี้จะให้ประโยชน์และความรู้แก่ผู้ที่ได้รับชมไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ”

คณะผู้จัดทำ ณ สถานที่แสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดจังหวัดสกลนคร

1. นางสาวกัญญารัตน์ พักตร์พรหม
2. นางสาวสาวิตรี วงค์กาฬสินธุ์
3. นางสาวนิศาชล นรสาร
4. นางสาวนันธิยา หนึ่งคำมี
5. นายญาณกวี เสียงล้ำ
6. นายณัฐวุฒิ เมืองสุวรรณ

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาเทคโนโลยีการประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีการศึกษา 2553 ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีๆ แบบนี้ครับ ท่านสามารถรับชมผ่าน youtube ได้เต็มๆ ที่ https://www.youtube.com/watch?v=hp9DwQsbipc

share on: