การเพาะเห็ดหน้าแล้ง

การเพาะเห็ดหน้าแล้ง

เห็ดฟาง ถือเป็นเห็ดที่มีคนนิยมรับประทานกันมาก ทั้งยังหาง่าย ทำเองก็ได้

และไม่ใช่แค่เห็ดฟางอย่างเดียวที่สามารถเพาะเองได้ อย่างเห็ดนางฟ้า ก็สามารถเพาะให้ผลผลิตได้ในทุกฤดูกาล จากธรรมชาติของเห็ดชอบอากาศร้อนอบอ้าว และชื้นหน่อยๆ ทำให้เห็ดหลายชนิดเติบโตได้ดีในสภาพอากาศแบบนี้

เห็ดฟาง กับการเพาะเห็ดหน้าแล้ง

ในช่วงหน้าแล้ง อาจมีการขาดน้ำ แต่หากคุมสภาพแวดล้อมได้คงที่ ก็สามารถเริ่มต้นการเพาะเห็ดหน้าแล้งได้ง่ายๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจันทร์เพ็ญ อ.เต่างอย จ.สกลนคร ได้มีการจัดการอบรมทอดถ่ายวิชาความรู้ในเรื่องการเพาะเห็ดฟางหน้าแล้ง โดยนายร่มไม้ นวลตา หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมความรู้ สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร

การให้ความรู้ในการเพาะเห็ดฟางกับเกษตรกรในพื้นที่ ถือเป็นทางเลือกหนึ่ง เนื่องจากสามารถสร้างงานแก้ปัญหาภัยแล้ง และชดเชยการปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำได้เป็นอย่างดี โดยการเพาะเห็ดหน้าแล้งนั้น มีการลงทุนน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับพืชชนิดอื่น และไม่ต้องมีการจัดการมากเหมือนในฤดูกาลอื่นๆ ทั้งยังไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีตลอดจนยาฆ่าแมลงถือได้ว่าเป็นผลิตผล ทางการเกษตรที่ปลอดสารเคมีและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคด้วย

เห็ดหอม กับการเพาะเห็ดหน้าแล้ง

เทคนิคก็คือการรดน้ำให้ชุ่มรอบๆ บริเวณของโรงเพาะเห็ดเท่านั้นเอง อาจจะเป็นการเพาะเห็ดฟางตะกร้า เพาะเห็ดฟางในกระสอบ หรือการเพาะเห็ดหน้าแล้งชนิดอื่นก็สามารถเพาะได้ง่ายในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว เกษตรกรมักคุ้นกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่ชำนาญมีข้อมูลการเพาะเห็ดอยู่ในมือ และมักพบว่า เห็ดเติบโตได้ดีในบางฤดู เช่น

เห็ดนางฟ้า การเพาะเห็ดหน้าแล้ง

  1. ฤดูหนาว ควรเลือกเพาะเห็ด นางฟ้า หรือ นางฟ้าภูฐาน หรือ เห็ดหอม เห็ดโคนญี่ปุ่น (ยานางิ)
  2. ฤดูฝน ควรเพาะเห็ดฮังการี หรือ เห็ดภูฐานครีม เห็ดหูหนู
  3. ฤดูร้อน ควรเพาะเห็ดนางรมขาว หรือ เห็ดนางรมฮังการรี และอาจเพาะเห็ดที่ชอบอากาศร้อน เช่น เห็ดลม (เห็ดบด) หรือ เห็ดขอนขาว (เห็ดม่วง) เห็ดหอม

เห็ดนางฟ้าภูฐาน การเพาะเห็ดหน้าแล้ง

ส่วนเห็ดบางชนิด สามารถเพาะได้ทุกฤดู เช่น เห็ดฟาง และเฉพาะหน้าร้อน ควรหลีกเลี่ยงการเพาะเห็ดนางฟ้า และโดยเฉพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน เพราะเห็ดจำพวกนี้ไม่ชอบอากาศร้อนและแห้ง ซึ่งจะทำให้ผลผลิตที่ได้ ไม่มีคุณภาพ

อ้างอิง การเพาะเห็ดฟางหน้าแล้ง แบบเกษตรอินทรีย์

share on: