หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการทำงาน เพราะในสภาพปัจจุบัน เราจำเป็นต้องแข่งขันกัน ทั้งด้านคุณภาพของงาน

และเวลาที่ใช้ การทำงานที่เกิดขึ้นจริง จึงไม่มีใคร มีเวลาที่จะลอง ผิดถูก เพราะนั่น อาจทำให้ผลกำไรลดลง หรือ กำไรทั้งหมดจะตกลงไปยังผู้ที่ลงมือก่อน

เราจึงทำได้เพียง ต้องเปลี่ยนแปลง ต้องจัดสรรเวลาให้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ สูงสุด การทำแบบนี้จึงต้องนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้บริหารเวลา ไม่ให้เสียเปล่า

คนเรามีเวลาเท่ากัน แต่หากทบทวนดู เราอาจใช้เวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ส่วนนี้จึงทำให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 นั้น ได้พระราชทานหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่ไม่ใช่ หลักการบริหารเศรษฐกิจ แต่เป็น การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เช่น เป็นผู้บริหารที่พอเพียง การพูด การคิดต้องพอเพียง อย่าให้ความคิดกระจาย ซึ่งเราสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการทำงานได้ง่าย ๆ

สรุปหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ด้านสำคัญ

ความพอประมาณ
ได้แก่ เรียบง่าย ประหยัด การทำอะไรที่พอเหมาะพอควร สมดุลกับอัตภาพ ศักยภาพของตนและสภาวะแวดล้อม ตามความสามารถของแต่ละคน พอประมาณกับภูมิสังคม สิ่งแวดล้อม สถานการณ์ การทำงานทุกอย่างต้องเรียบง่าย ประหยัด อย่าทำงานให้ยุ่ง ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ มีกำหนดการทำงานตามลำดับขั้นตอน และมีการปฏิบัติชัดเจน เช่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ต้องรู้ว่านักศึกษาต้องการอะไร ผู้ใช้บัณฑิตต้องการอะไร เพราะทุกกิจกรรม ทุกงานที่ทำมีต้นทุน อย่าทำงานทิ้งๆ ขว้าง ๆ การทำงานต้องมีประโยชน์ มีผลผลิตที่เกิดขึ้น

ความมีเหตุผล
คือ การคิด ฟัง ปฏิบัติ การทำงานต้องใช้หลักความรู้ในการทำงาน วางแผนงานต้องระมัดระวัง ต้องใช้หลักวิชาการช่วยสนับสนุน อย่าใช้ความรู้สึกและอารมณ์ในการทำงาน ทุกคนมีศักยภาพในการทำงาน การพัฒนาตัวเองต้องเกิดขึ้นจากภายในตัวเองของแต่ละคน จึงต้องแสดงศักยภาพออกมาให้ได้

มีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
คือ ต้องมีแผนกลยุทธ์ เช่น เป็นอาจารย์ต้องมีแผนการสอน องค์กรต้องมีแผนกลยุทธ์ เป็นต้น การทำงานต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องมองภาพรวม ทุกคนมีส่วนร่วม คือการประสานงาน และการบูรณาการปรับวิธีการทำงาน หน่วยงานองค์กรต้องมีธรรมาภิบาลเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้นกันภายในตัว

ชีวิตที่พอเพียงในการทำงานการศึกษา จึงต้องยึดความพอเพียง ประกอบด้วย ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาการเรียนรู้ มีกระบวนการพัฒนาที่ยึดคุณธรรม ความเพียร ความรอบรู้ ความซื่อสัตย์สุจริตให้เข้าสู่จิตใต้สำนึกของผู้เรียน บุคลากร และต้องมีธรรมาภิบาลในองค์กร

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ทำงานให้ง่ายขึ้น

การทำงานกับมนุษย์ต้องใช้หลักการ หลักวิชาการให้สอดคล้องกับภูมิสังคม คือภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม ต้องปรับกระบวนการทำงานจากบนลงล่าง เป็นล่างขึ้นบน เป็นผู้เป็นหุ้นส่วนระหว่างผู้สอน ผู้เรียนและสาระการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายของการศึกษาคือ คุณภาพชีวิตและสังคม เพื่อลดความยากจน เป็นเครื่องมือดูแลสุขภาพ เป็นเครื่องมือพัฒนาประชาธิปไตย และเป็นเครื่องมือสำหรับธรรมาภิบาลหรือความโปร่งใสของสังคม

การเป็นผู้นำยุคใหม่นี้ ต้องมีความสามารถในการชี้นำ การสื่อสาร และสร้างการเรียนรู้เพื่อลดช่องว่างระหว่างผู้นำผู้ตาม รวมทั้งสามารถทำให้ผู้ร่วมงานสามารถตามทันวิสัยทัศน์ผู้นำได้ การบริหารจัดการจึงต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานในองค์กรเพื่อขับเคลื่อนการทำงานให้ไปสู่ความสำเร็จคือคุณภาพตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย องค์กรจึงต้องวางระบบให้กิจกรรมต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

อ้างอิงจาก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการทำงาน โดย ภูษณิศา นวลสกุล นักวิชาการศึกษา 8 ชำนาญการ / เอกสารอ้างอิง วิชัย วงศ์ใหญ่. 2550. การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการคิดอย่างเป็นระบบสู่กระบวนการเรียนการสอนและการทำงาน / เอกสารประกอบการในกา่รบรรยายเศรษฐกิจพอเพียง

ที่มา สรุปหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

share on: